less sugar

 

   

 HOT LINE:: 09 5467 9709 ::  

Happy Workplace Provider Network (HPN)

เครือข่ายนักสร้างสุขภาวะองค์กร (คนอ)

Happy Workplace : Less Sugar

Happy Workplace...Less Sugar

สุขภาวะองค์กร...มุ่งลดบริโภคหวาน

กรอบแนวคิด

องค์กรสุขภาวะ หรือ Happy Workplace คือ กระบวนการพัฒนาคนในองค์กร อย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ องค์กร เพื่อให้องค์กรมีความ พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง จะนำไปสู่การพัฒนาเติบโตอย่าง ต่อเนื่องขององค์กร (การจัดการองค์กรโดยเน้น การจัดการ “คน” เป็นหลัก) เมื่อมนุษย์ทุกคนปรารถนาความสุข แล้วอะไรเล่าคือความสุข การมีเงินทองมากมาย การได้ในทุกสิ่งที่ปรารถนาเป็นความสุขที่แท้จริงหรือ วันนี้เรามองความสุขในแง่วัตถุและการกระทำในสิ่งที่ปรารถนามากไปหรือเปล่าต้องทำต้องเป็นอย่างที่หวังถึงจะเรียกว่าความสุขหรือ แล้วเมื่อไหร่ถึงจะพอใจในความสุข จะจัดการสร้างสมดุลแห่งความสุขได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนมีอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน หลายคนพยายามที่จะหาคำตอบ HAPPY 8 ความสุขแปดประการ เป็นแนวทางหนึ่งในการตอบคำถามที่ว่า ความสุขคืออะไร จะจัดการความสุขได้อย่างไร เพื่อให้เกิดสมดุลของชีวิตในการทำงานและใช้ชีวิต มีไอคิว (ความฉลาดทางสติปัญญา) สมดุลกับอีคิว (ความฉลาดทางอารมณ์และเหตุผล)

สภาอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างองค์กรสุขภาวะ (Healthy Organization) จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ใน พ.ศ. 2554-2556 ภายใต้สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำแนวทางการสร้างสุขในที่ทำงาน เป็นความสุขพื้นฐาน 8 ประการ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์หลายมิติ ได้แก่ 1) ด้านการมีสุขภาพดี (Happy Body) , การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (Happy Heart), การรู้จักผ่อนคลาย (Happy Relax), การมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวมีคุณธรรมประจำใจ (Happy Soul) มีเศรษฐกิจการเงินที่ดี (Happy Money), การพัฒนาความรู้ (Happy Brain), การมีครอบครัวที่ดี (Happy Family), และมีสังคมที่มีความสุข (Happy Society) เป็นตัวชี้วัด การสร้าง “ความสุขมวลรวมของการทำงาน” ในทุกๆองค์กร เพื่อนำมาประมวลรวมกันสะท้อนความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชน

ปัจจุบันทางสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร  สำนักงานกอบทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้พัฒนา 6 เครื่องมือสร้างสุข ( 6 Application to Happy Workplace) คือ 

1. Happy Model นำเสนอโมเดลการสร้างความสุขด้วยโมเดล Home โดยมององค์กรแห่งความสุข ใน 3 มุมมอง คือ ในระดับองค์กร ระดับการบริหารจัดการความสุข และระดับพนักงาน โมเดลนี้จะทำให้ เข้าใจลักษณะและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน

2. Happy Workplace Index เป็นเครื่องมือประเมินตัวเองและวัดผลการพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความสุข ซึ่งแบ่งเป็น 10 มิติ คือ สุขด้วยการจัดการ สุขด้วยบรรยากาศในการทำงาน สุขด้วยกระบวนการสร้างสุข สุขด้วย สุขภาพกายใจ และสุขด้วยผลลัพธ์องค์กร

3. HAPPINOMETER เป็นเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตและความสุขของพนักงานรายบุคคล โดยแบ่งตัวชี้วัด เป็น 5 มิติ คือ ข้อมูลทั่วไปมี 1 มิติ, Happy 8 มี 8 มิติ, และ Happy Plus มี 1 มิติ

4. Happy Workplace ROI ใช้ประเมินความคุ้มค่า (ROI) ในการดำเนินการ กิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้อง กับความสุขในการทำงาน โดยประเมินจากข้อมูลนำเข้า 12 ส่วน

5. Happy 8 Menu รวบรวมตัวอย่างกิจกรรมการสร้างความสุขในแต่ละความสุข โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 8 กลุ่ม ตาม Happy 8

6. HeHa หรือ Holestic Enterprise Happiness Approach เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยแนวคิดของการรักษาสมดุลของความสุขภายในองค์กร ด้วยการเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการเสริมสร้างความสุขของทั้งผู้ประกอบการและพนักงาน บนพื้นฐานของการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ได้มีการพัฒนานักสร้างสุของค์กรและผู้จัดการนักสร้างสุขให้กับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสุขในองค์กรหรือองค์กรสุขภาวะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 

จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมามุมมองที่น่าสนใจคือ “ความสุข” มักจะเริ่มต้นจากการตอบสนองความต้องการที่มีอยู่ภายในตัวของเราทุกคนและเมื่อเราได้รับการตอบสนองจนเป็นที่ “พอใจ” แล้ว เราจะแบ่งปันความสุขไปสู่คนรอบข้างที่ใกล้ตัวเราคือ ครอบครัวใหญ่แบบไทยดั่งเดิมและครอบครัวเดี่ยวเล็กๆที่มีเพียง สามี ภรรยาและบุตร ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าสถาบันครอบครัวคือ ผู้คนที่อยู่รอบๆตัวและเพื่อนร่วมงานที่เป็นสถาบันใหญ่ที่เกิดจากการรวมกันของครอบครัวหลายๆครัวครอบจนเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น จนเกิดเป็นสังคม ประเด็นคือมนุษย์ได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานทฤษฏี Maslow’s Hierarchy of needs Theory แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งมีพลังมากที่สุดเพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรืออาจเรียกไดว่าคือ ปัจจัย 4 ก็ได้ 2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการที่จะรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง 3. ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม 4. ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) ที่มีต่อตนเอง (Self-respect)และผู้อื่น (Esteem from others) 5. ความต้องการความสำเร็จที่แท้จริง (Self-actualization needs) โดยการตระหนักรู้ความสามารถของตนกับปฏิบัติตนตามความสามารถ และศักยภาพ เพื่อประโยชน์ของคนอื่นและของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ จุดเริ่มต้นและมีความสำคัญจาก Happy ทั้ง 8 ตัวคือ Happy Body  หรือ การมีสุขภาพดี  ที่มีการนำกิจกรรม 3 อ. มาใช้ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลดีไปยัง Happy อีก 7 ตัว

อาหารหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตที่สามารถก่อเกิดคุณอนันต์และในทางกลับกันก็สามารถสร้างโทษมหันต์ให้กับมนุษย์ อย่างที่เห็นชัดเจนคือโรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) คือโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ย ของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่ม โรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases ) โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) โรคมะเร็ง (Cancer)โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension ) และโรคอ้วนลงพุง (Obesity) ซึ่งแต่เดิมมีการเข้าใจว่าเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ได้ และในสถานประกอบการผลผลิตต่อหัว (Productivity) ยังคงเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการให้ความสำคัญ การทำให้ร่างกายสดชื่นมีแรงมีพลังในการทำงานคืออาหารรสหวานเค็มเปรี้ยวจัด และตบท้ายด้วยเครื่องดื่มหวานๆเย็นๆ หรือแม้แต่การประชุมกาแฟรสเข้มก็หนี้ไม่พ้นการใส่นมและน้ำตาลในปริมาณมากๆ จนบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ สุขภาวะองค์กร...มุ่งลดบริโภคหวาน / Happy Workplace...Less Sugar

Happy Workplace Provider Network

"Club"

 ข้อมูลเพิ่มเติม

  Tel : 09 3937 8964          09-5467-9709 

          08-6313-4479          08-9605-0600

  Email : udsanee@jnhealthcare.com

QR CODE  (FB)

QR CODE  (B)

      COUNTER       

23456789023456789012

PromotionS

&

EventS

 234567890123456789012 

 ***  เราพร้อมจะทำให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลายในแบบที่คุณจะประทับใจและสุขใจไปกับเรา  ***

Welcome to JN Business Consulting & Training

Email : udsanee@jnhealthcare.com 

https://www.facebook.com/JNBusinessConsultingTraining   |   http://jnbusinessconsultingandtraining.blogspot.com

 www.jnhealthcare.com เป็นส่วนหนึ่งของ www.jnhealthcare.co.th

สร้างและพัฒนาโดยคุณวชิระ คงสมโภชน์และทีมงาน